Home » คปอ. คือใครต้องเริ่มต้นอย่างไรในการเป็น คปอ. ตามที่กฎหมายกำหนด

คปอ. คือใครต้องเริ่มต้นอย่างไรในการเป็น คปอ. ตามที่กฎหมายกำหนด

by Andrew Dunn
306 views
รู้จักคปอตามที่กฎหมายกำหนด

คปอ. หรือคณะกรรมการความปลอดภัย ตามที่กฎหมายกำหนดเป็นอย่างไร

safety committee คือ คปอ. หรือ คณะกรรมการความปลอดภัย การเริ่มต้นที่จะเป็น คปอ. ตามกฎหมายนั้น จะต้องมีกระบวนการคัดเลือกพนักงานทั้งฝ่ายตัวแทนนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง รวมไปถึงนายจ้างจะต้องส่งอบรม คปอ.ให้ถูกต้องตามสัดส่วน โดยการเลือกตั้งของฝ่ายลูกจ้างจะต้องทำการเลือกตั้งโดยพนักงานทั้งหมดเพื่อให้ได้มาซึ่งคณะ คปอ. อย่างแท้จริง

วันนี้เรามีความรู้เกี่ยวกับการเริ่มต้นเป็น คปอ.มาฝากเพื่อนให้ได้รู้ถึงแนวทางที่ถูกต้อง

กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๔๙  กําหนดให้นายจ้างของสถานประกอบกิจการประเภทที่กําหนด ที่มี ลูกจ้างตั้งแต่ ๕๐ คนขึ้นไป จัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ของสถานประกอบกิจการ

เพื่อให้เกิดกลไกความร่วมมือระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ในการบริหารจัดการความปลอดภัยฯ โดยกฎกระทรวงดังกล่าวได้กําหนดวิธีการในการได้มาซึ่งคณะกรรมการความปลอดภัยฯ บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัยฯ และหน้าที่ของนายจ้างที่มีต่อคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ไว้ดังนี้

training for committee

หน้าที่ของนายจ้างในการจัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทํางานของสถานประกอบกิจการ

กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๔๙ กําหนดให้นายจ้างในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ ๕๐ คน ขึ้นไป จัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานภายใน ๓๐ วัน นับต้ังแต่วันที่มีลูกจ้างครบ ๕๐ คน ซึ่งกฎกระทรวงฉบับน้ีให้ใช้บังคับกับสถานประกอบกิจการประเภทต่างๆ ดังนี้

  1. การทําเหมืองแร่เหมืองหินกิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี
  2.  การทํา ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบํารุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่ง ดัดแปลงแปรสภาพ ทําให้เสีย หรือทําลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กําเนิด แปลงและจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น
  3. การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบํารุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ํา ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ํา โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ รวมทั้งการ เตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง
  4. การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบกทางนํ้าทางอากาศและรวมท้ังการบรรทุกขนถ่ายสินค้า
  5. สถานีบริการหรือจําหน่ายน้ํามันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
  6. โรงแรม
  7. ห้างสรรพสินค้า
  8. สถานพยาบาล
  9. สถาบันทางการเงิน
  10. สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ
  11. สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา
  12. สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ
  13. สํานักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม (๑) ถึง (๑๒)
  14. กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกําหนด

คณะกรรมการความปลอดภัยมีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยในองค์กรและเป็นกระบอกเสียงให้กับพนักงานในการร้องเรียนด้านต่างๆ ที่จะทำให้เกิดความเป็นอันตรายในการทำงาน หรือ โรคจากการทำงานเป็นต้น

บทบาทหน้าที่ของคปอ

คปอ. หรือ คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. พิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงาน เพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน หรือความไม่ปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง
  2. รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ
  3. ส่งเสริมสนับสนุน กิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถาประกอบกิจการ
  4. พิจารณาข้อบังคับและคู่มือตามข้อ 3 รวมทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถาประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง
  5. สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และตรวจสอบสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้น อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
  6. พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานรวมถึงโครงการหรือแผนการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง หัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้าง และบุคลากรทุกระดับเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
  7. วางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้เป็นหน้าที่ของลูกจ้างทุกคนทุกระดับต้องปฏิบัติ
  8. ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอนายจ้าง
  9. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเมื่อปฏิบัติหน้าที่ครบหนึ่งปี เพื่อเสนอต่อนายจ้าง
  10. ประเมิณผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
  11. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

คณะความปลอดภัยในองค์กร

การ อบรม คปอ. ซึ่งการฝึกอบรมนี้จะต้องอบรมผ่านใต้สังกัดของบริษัทที่ตนเองอยู่เท่านั้นและต้องมีหนังสือแต่งตั้งว่าเป็นผู้บริหารในบริษัทนั้นจริงจึงจะสามารถขึ้นทะเบียนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายการ อบรม คปอ. ไม่สามารถอบรมโดยไม่มีสังกัดได้

ในกรณีที่สถานประกอบกิจการใดมีกรรมการเพิ่มขึ้นมากกว่าจํานวนขั้นต่ำที่กฎหมายกําหนด ให้มี กรรมการผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชาและผู้แทนลูกจ้างเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่เท่ากัน

สําหรับสถานประกอบกิจการที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูง หรือ ระดับวิชาชีพ ให้นายจ้างคัดเลือกผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชาหนึ่งคนเป็นกรรมการ และให้ประธาน กรรมการเลือกกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชาคนหนึ่งเป็นเลขานุการ

51zhudan แหล่งรวมข้อมูลและคำแนะนำดีๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ที่คุณสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง

ติดต่อ

@2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by 51zhudan